ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ
· สถิติ หมายถึง ยอดตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงของสิ่งใด หรือเหตุการณ์ใด ๆ
· สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล เพื่อนำผลจากการศึกษามาช่วยในการอธิบายและตอบปัญหาที่สนใจ ซึ่งสถิติศาสตร์จะครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ต่อไปนี้
1) การเก็บรวมรวมข้อมูล (Data Collection) สถิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล ดังนั้น การได้มาซึ่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากข้อมูลที่ได้มาไม่ถูกต้อง จะทำให้ผลจากการศึกษาข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
2) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการหาข้อสรุปจากข้อมูล โดยการวิเคราะห์อาจทำได้ใน 2 ระดับ
* การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น หรือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลในรูปของการบรรยายลักษณะทั่วๆ ไปของข้อมูลโดยจัดนำเสนอเป็นบทความ บทความกึ่งตาราง แสดงด้วยกราฟ หรือแผนภูมิ ตลอดจนทำเป็นรูปแบบของข้อมูลในเบื้องต้นให้สามารถตีความหมายของข้อมูลได้ตามความจริง สถิติบรรยาย นี้อาจทำการศึกษากับข้อมูลที่เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ โดยทั่วๆ ไปก็ได้ และผลการวิเคราะห์จะใช้อธิบายเฉพาะกลุ่มที่นำมาศึกษาเท่านั้น สถิติบรรยายที่ใช้ในงานวิจัย เช่น การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย เป็นต้น
* การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง หรือสถิติอนุมาน (Inferential statistics) เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่โดยทั่ว ๆ ไป โดยใช้พื้นฐานความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมาน หรือทำนายไปยังกลุ่มประชากรเป้าหมาย การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะ คือ การประมาณค่าประชากร และการทดสอบสมมติฐาน
3) การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นขั้นตอนของการนำผลการวิเคราะห์มาอธิบายให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ อาจจำเป็นต้องมีการขยายความในการอธิบาย เพื่อให้งานที่ศึกษาเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปได้
สถิติมีความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ
· สถิติ หมายถึง ยอดตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงของสิ่งใด หรือเหตุการณ์ใด ๆ
· สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล เพื่อนำผลจากการศึกษามาช่วยในการอธิบายและตอบปัญหาที่สนใจ ซึ่งสถิติศาสตร์จะครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ต่อไปนี้
1) การเก็บรวมรวมข้อมูล (Data Collection) สถิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล ดังนั้น การได้มาซึ่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากข้อมูลที่ได้มาไม่ถูกต้อง จะทำให้ผลจากการศึกษาข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
2) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการหาข้อสรุปจากข้อมูล โดยการวิเคราะห์อาจทำได้ใน 2 ระดับ
* การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น หรือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลในรูปของการบรรยายลักษณะทั่วๆ ไปของข้อมูลโดยจัดนำเสนอเป็นบทความ บทความกึ่งตาราง แสดงด้วยกราฟ หรือแผนภูมิ ตลอดจนทำเป็นรูปแบบของข้อมูลในเบื้องต้นให้สามารถตีความหมายของข้อมูลได้ตามความจริง สถิติบรรยาย นี้อาจทำการศึกษากับข้อมูลที่เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ โดยทั่วๆ ไปก็ได้ และผลการวิเคราะห์จะใช้อธิบายเฉพาะกลุ่มที่นำมาศึกษาเท่านั้น สถิติบรรยายที่ใช้ในงานวิจัย เช่น การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย เป็นต้น
* การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง หรือสถิติอนุมาน (Inferential statistics) เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่โดยทั่ว ๆ ไป โดยใช้พื้นฐานความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมาน หรือทำนายไปยังกลุ่มประชากรเป้าหมาย การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะ คือ การประมาณค่าประชากร และการทดสอบสมมติฐาน
3) การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นขั้นตอนของการนำผลการวิเคราะห์มาอธิบายให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ อาจจำเป็นต้องมีการขยายความในการอธิบาย เพื่อให้งานที่ศึกษาเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปได้
4 ) การนำเสนอข้อสรุป (Data Presentation) เป็นการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปตอบคำถามหรือปัญหาที่ตั้งไว้ในรูปแบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้อย่างชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น